บทความที่ 11: ปิยโปฎกโมเดล

ปิยโปฎกโมเดล

“สังคมอุดมสติ : mindfulness society”

(สังคมแห่งการเจริญสติ และเติบโต จากภายในสู่ภายนอก)


วัตถุประสงค์ทั่วไป

เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้าง ปิยโปฎกโมเดล

“สังคมอุดมสติ : mindfulness society”

(สังคมแห่งการเจริญสติ และเติบโต จากภายในสู่ภายนอก)


วัตถุประสงค์เฉพาะ

  1. ศึกษาแนวคิดของ Founder and Leader สู่การสร้าง ปิยโปฎกโมเดล “สังคมอุดมสติ : mindfulness society”

  2. ศึกษาแนวคิดในการส่งเสริมกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมของคนในสังคมในมิติต่างๆ (ด้านบริหาร ด้านวิชาการ ด้านส่งเสริมสังคมภายในและภายนอก ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอาคารสถานที่ ฯลฯ)

  3. ศึกษาการนำ MRP Program ไปสู่การเจริญสติ และเติบโต จากภายในสู่ภายนอก สังคม ปิยโปฎกโมเดล


ระเบียบวิธีวิจัย

รูปแบบ  Research & Development

                

Step 1 : Research


1. งานวิจัยเชิงปริมาณ

เก็บข้อมูลทั่วไปของ ปิยโปฎกโมเดล เช่น สถานที่ตั้ง อาคารที่พักอาศัย ข้อมูลทั่วไปของผู้อยู่อาศัย (ไม่ระบุชื่อ) อายุ เพศ ความรู้ ความสามารถ จำนวนปีที่มาอยู่พำนัก ลักษณะของการมาพักอาศัย ฯลฯ

2. งานวิจัยเชิงคุณภาพ

ใช้การสัมภาษณ์แนวคิดการพัฒนา ตั้งแต่ผู้ก่อตั้ง ผู้นำ และคนในสังคม ปิยโปฎกโมเดล ทั้งหมด หรือ เลือกเฉพาะแกนนำทางการและไม่เป็นทางการ หรือสุ่มบางส่วน


ประเด็นการสัมภาษณ์

  • แนวคิดผู้นำ  แรงจูงใจ ความคาดหวัง (อยากเห็นสังคมนี้เป็นแบบไหน)

  • แนวคิดในการร่วมพัฒนา (ศักยภาพ ความสามารถ ทรัพย์สิน ฯลฯ)

  • แนวคิดการนำ MRP Program สู่สังคมภายนอก ปิยโปฎกโมเดล

  • ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ (creative idea)

สรุปวิเคราะห์   

  • เชิงพรรณา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ชุดข้อมูลทั่วไป ชุดความคิดเห็นในการสร้าง และพัฒนา ปิยโปฎกโมเดล ในมิติต่างๆ



Step 2 :  Development
(Participation Method)


การนำข้อมูลจากผลการวิจัย Step 1 มาจัดทำเป็น “แผนพัฒนา ปิยโปฎกโมเดลในมิติต่างๆ” ได้แก่

  • ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ยานพาหนะ

  • ด้านบุคลากร ผู้นำ การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบการทำงาน  ระเบียบวินัย สำหรับสังคมปิยโปฎกโมเดล (การกำกับดูแล การสร้างความตระหนัก ฯลฯ)

  • ด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การป้องกันอุบัติเหตุ และสาธารณภัย

  • ด้านการดูแลสุขภาพ

  • ด้านการเงินและรายได้   ของมูลนิธิ และรูปแบบอื่นๆ

  • ด้านการพัฒนา MRP Program รูปแบบการเผยแพร่ การพัฒนามาตรฐานครูผู้สอน กระบวนการเก็บข้อมูล การประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา การขยายผลโปรแกรมไปสู่สังคมภายนอก  ปิยโปฎกโมเดล ฯลฯ

Step 3 :  ถอดบทเรียน Step 1 และ Step 2

  • ถอดบทเรียนการเจริญสติ และเติบโต จากภายในสู่ภายนอกสังคม          ปิยโปฎกโมเดล (เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในด้านเป็นที่ศึกษาดูงาน เป็นแหล่งเรียนรู้ ฯลฯ)

  • การขยายผล key of success “MRP Program” ต่อการพัฒนาสังคม ปิยโปฎกโมเดล ในมิติต่างๆ (HRD Health Education Organization Community ฯลฯ)


หมายเหตุ : กรอบเวลาเบื้องต้น

Step 1  

  • กำหนดหัวข้อวิจัย (2 เดือน)

  • หาทีมงาน

  • งานภาคสนาม (2  เดือน)

  • รายงานสรุป (2  เดือน)

Step 2

  • บางส่วนสามารถเริ่มทำไปพร้อมๆ step 1 ได้    (6  เดือน)

Step 3

  • ถอดบทเรียน   (4  เดือน)



Previous
Previous

บทความที่ 12: รากฐานของโปรแกรม MRP

Next
Next

บทความที่ 10: O8