ศูนย์การเรียนรู้สติ (ศ.ร.ส)

Mindfulness Learning Center (MLC)

ศูนย์การเรียนรู้สติ (ศ.ร.ส) หรือ Mindfulness Learning Center (MLC) เป็นศูนย์การเรียนรู้และวิจัยด้านการเจริญสติในกำกับของมูลนิธิปิยโปฎก (ปฎ) หรือ PIYAPODOK FOUNDATION (PD)

ทั้งนี้ ศ.ร.ส ได้ริเริ่มดำเนินการขึ้นมาในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ (ตรงกับวันวิสาขบูชา) โดยมีคณะกรรมการมูลนิธิปิยโปฎก ได้ประชุมกำหนดกระบวนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สติ ขึ้นมา ตามวัตถุประสงค์ที่มีในระเบียบข้อบังคับของ มูลนิธิปิยโปฎก ดังต่อไปนี้

๑. เผยแผ่พุทธธรรมในพระไตรปิฎก เรื่อง การเจริญสติตามหลักการของ “มหาสติปัฏฐานสูตร” ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นไปที่การดูแลจิตใจเพื่อนมนุษย์ให้มีความสุขและพ้นจากทุกข์ ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ

๒. ช่วยเหลือสังคมด้านการศึกษาและศิลปะวัฒนะวัฒนธรรม

๓. ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสาธารณะประโยชน์ต่างๆ

๔. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

“แม้นชีวิตไม่สมบูรณ์แต่สามารถทำให้สมดุลได้” 

ศูนย์การเรียนรู้สติ (ศ.ร.ส) ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต) และการเจริญสติตามแนวทางของ สติปัฏฐาน ๔ และโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) มาร่วมออกแบบ วางแผน วางโครงสร้าง และกำหนดแนวทางในการเรียนรู้ฝึกฝนและวิจัยด้านการเจริญสติ ที่จะจัดให้มีขึ้นใน ศูนย์การเรียนรู้สติ (ศ.ร.ส) อย่างเป็นระบบ 

 

ศูนย์การเรียนรู้สติ (ศ.ร.ส)  

มิได้เป็นแบบอย่างด้านการวิจัยและพัฒนาการเจริญสติเฉพาะในสังคมไทยเท่านั้น  
แต่จะเป็นแบบอย่างให้กับสังคมมนุษย์ทั่วโลกด้วย   

วิสัยทัศน์

ปรารถนาให้เพื่อนมนุษย์มีสุขภาพจิตดีและมีสุขภาวะทุกมิติ 


พันธกิจ  

ส่งมอบโปรแกรมการเจริญสติ  
Mind Retreat Program: MRP    
(โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน)   
ให้เข้าถึงเพื่อนมนุษย์ทุกคน ตั้งแต่ทารกน้อยในครรภ์และคุณแม่  
ไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ที่กำลังรอความตาย  
ให้มีสุขภาพจิตดีและมีสุขภาวะทุกมิติ  
จนกว่าลมหายใจสุดท้ายของชีวิต  

ทิศทางพันธกิจ  

• ป้องกันไม่ให้เพื่อนมนุษย์มีสุขภาพจิตเสื่อม   
• ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้ออกจากสุขภาพจิตเสื่อมสำเร็จ   
• ส่งเสริมให้เพื่อนมนุษย์มีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาวะทุกมิติ   
• บำรุงรักษาสุขภาพจิตดี และมีสุขภาวะทุกมิติ ให้กับเพื่อนมนุษย์ 

แผนยุทธศาสตร์  

1.  การจัดการเรียนรู้โปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ในระดับต่างๆ ทั้ง 4 ระดับให้กับผู้สนใจทุกเพศ ทุกวัย 

2. การสร้างและพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนโปรแกรมการเจริญสติ (Master) ให้สามารถถ่ายทอดโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 

3. การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้สติที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เพื่อจัดการเรียนรู้ โปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน)  และส่งเสริมให้เกิด “สังคมผู้มีสติ” ในพื้นที่ต่างๆ  

4. ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการส่งเสริมให้เกิดสุขภาพจิตที่ดีและมีสุขภาวะในมิติต่างๆ แก่เพื่อนมนุษย์ โดยมีโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) เป็นเครื่องมือ 

5. การวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งมอบโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ให้มีความเหมาะสมและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

เป้าหมายภารกิจ  

เผยแผ่โปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) โดยกลุ่มครูผู้สอนโปรแกรมการเจริญสติ (Master) ทั้ง onsite และ online ไปยังกลุ่มเครือข่ายพันธมิตร เช่น กรมราชทัณฑ์ กลุ่มการแพทย์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย  ชุมชน และ องค์กรต่างๆ  

การวิจัยและพัฒนา

• การศึกษาและประเมินผลโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ที่เผยแผ่ไปยังกลุ่มต่างๆ 
• การศึกษาและประเมินรูปแบบการถ่ายทอดโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ของครูผู้สอนโปรแกรม (Masters)  
• การศึกษาและถอดบทเรียนชุมชนผู้มีสติ (Mindfulness Community Model)   
• ศึกษาข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เป็นปัจจัยในมิติต่างๆของโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) 
• ศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในมิติต่างๆ  
• วัดผลของการมีสุขภาพจิตที่ดีและมีสุขภาวะต่างๆภายหลังการอบรม (วัดก่อนและหลังการฝึกอบรม) 

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยและพัฒนา  

• ทำให้ทราบความเหมาะสมของรูปแบบ ช่องทาง ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน  
• ทำให้ทราบถึง Biodata ความต้องการ ความคาดหวัง และแรงจูงใจของผู้เรียน  
• ทำให้ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในมิติต่างๆ  
• วัดผลด้านการมีสุขภาพจิตที่ดี และมีสุขภาวะ ของผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้   
• ผู้บริหารโปรแกรมสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน  
• การศึกษาและประเมินรูปแบบการถ่ายทอดโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) ของกลุ่ม Master เช่น รูปแบบการถ่ายทอดโปรแกรม  ความถูกต้องของเนื้อหาและสาระ  การประยุกต์ใช้ MRP Program ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน ฯลฯ 
• ความพึงพอใจ ความเข้าใจของผู้เรียนที่มีต่อ โปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน) และ กลุ่มครูผู้สอนโปรแกรม (Masters)  


การประเมินผลลัพธ์  

• ความพึงพอใจ และความเข้าใจของผู้เรียนที่มีต่อกลุ่มครูผู้สอนโปรแกรม (Masters) และโปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน)   
• การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาสาระจากเทปบันทึกการสอน  
• การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้บริหารโปรแกรมฯ  
• การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาครูผู้สอนโปรแกรม (Masters) ให้มีศักยภาพในการสอน และการถ่ายทอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

การศึกษาและถอดบทเรียน ชุมชนผู้มีสติ 

• ศึกษาและถอดบทเรียนชุมชนผู้มีสติ ซึ่งสมาชิกของชุมชนนี้ ได้ผ่านการศึกษาเรียนรู้ใน โปรแกรมการเจริญสติ Mind Retreat Program: MRP (โปรแกรมการพาจิตมาอยู่กับปัจจุบันขณะ หรือ โปรแกรมการพาจิตกลับบ้าน)   
• มีการรวมตัวกัน หรือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนนี้อย่างสร้างสรรค์  
• ทำให้ทราบว่าสมาชิกในชุมชนนี้มีสุขภาพจิตที่ดี มีสุขภาวะในมิติต่างๆ และมีความสามารถในการสร้างสมดุลชีวิต  

ภาคผนวก 

 นิยามศัพท์ ความหมาย และข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ ศูนย์การเรียนรู้สติ (..) 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ๑ 

การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง กระบวนการการจัดการที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม สถานการณ์ ปัจจัยเกื้อหนุน สื่อแห่งการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการจัดกระบวนการให้ความรู้ และประสบการณ์ ที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนด เป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

 

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้แก่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเอื้อให้บุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่นสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามศักยภาพ ความพร้อม โอกาสตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถนำประสบการณ์การเรียนรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 

 

แนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง แนวความคิดที่พัฒนามาจากกระบวนการวิจัยตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และการประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในมุมมองของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ หลักการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งสามารถเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติจริงได้ 

 

การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การสนับสนุน ส่งเสริม และการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน จากสถานการณ์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคม และวิถีชีวิต ตลอดจนการตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของปัจเจกบุคคล ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกช่วงวัย ต่อเนื่องยาวนานไปตลอดชีวิตจนตาย 

 

การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาเพื่อทุกคนในสังคม ที่เน้นความความเสมอภาค โอกาส และสิทธิทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัยต้องทำความเข้าใจกับสภาพพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย และการจำแนกประเภท การกำหนดกิจกรรม และบริการทางการศึกษา ให้แต่ละกลุ่มได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และสอดคล้องตามความต้องการต่อไป 

  

ข้อมูลเพิ่มเติม ๒ 

จากความสำคัญของการศึกษาตามอัธยาศัย อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาตามอัธยาศัย มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ทุกช่วงของชีวิตของบุคคลกลุ่มเป้าหมายคือ คนทุกคนในสังคม และเป็นการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียน และวิธีการเรียนตามความต้องการ เพื่อให้บุคคลสามารถพึ่งตนเอง มีความรู้ ทักษะที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุต์ใช้กับชีวิตจริงได้ ตลอดจนเป็นการศึกษาที่ตอบสนองความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning society, คมกฤช จันทร์ขจร) 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ๓ 

การศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการจัดกระทำโดยองค์การ สถาบันเพื่อจุดประสงค์ทางการศึกษาทั้งโดยตรง และทางอ้อม ได้แก่ 

1) งาน และโปรแกรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา 
2) แหล่งความรู้ในชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนสถาน แหล่งศิลปวัฒนธรรม เช่น วัด โบสถ์ มัสยิด หอศิลปะ อุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานโบราณวัตถุ 
3) แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ศูนย์วิทยาศาสตร์อุทยานการศึกษา พิพิธภัณฑ์เด็ก ศูนย์ข้อมูลต่างๆ ฯลฯ 
4) สื่อสารมวลชน สื่อโทรคมนาคม สื่อสารสนเทศ 
5) แหล่งนั้นทนาการ และสนามเด็กเล่น สนามหรือศูนย์กีฬา สวนสาธารณะสวนสมุนไพร อุทยานมัจฉา สวนผีเสื้อ เป็นต้น 
6) แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ 
7) หน่วยงานบริการของรัฐต่างๆ 
8) องค์กรเอกชน ซึ่งจัด ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ๔ 

โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย มีลักษณะเป็นโครงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้จัดกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ แต่มีจุดมุ่งหมายที่มีความยืดหยุ่นเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคคลอย่างอิสระ โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในวิถีชีวิต และมีการประเมินผลที่คำนึงถึง ค่านิยม เจตคติ นวัตกรรม และผลลัพธ์ของการปฏิบัติ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ๕ 

องค์กรเอกชน หรือ มูลนิธิ หรือ สมาคม เป็นแหล่งจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในลักษณะ ต่างๆ ตามขอบเขตหรือจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆ กำหนดไว้ ซึ่งรัฐควรให้การสนับสนุน และจัดให้มีการประกาศเกียรติคุณองค์กรที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย 

(ข้อมูลอ้างอิงจากปริญญานิพนธ์ของ คมกฤช จันทร์ขจร เรื่อง การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต) 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ๖ 

ตัวอย่างของสถาบันภายใต้มูลนิธิ ได้แก่ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันเฉพาะด้าน ๗ แห่งภายใต้มูลนิธิ ซึ่งมีชื่อว่า “อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ” และสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังภายใต้มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง  

 

สถาบันภายใต้มูลนิธิ โดยส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อบริการสาธารณะเฉพาะด้าน จะจัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมเฉพาะสาขาในระยะเริ่มแรก และเมื่ออุตสาหกรรมสาขานั้น ๆ มีความเข้มแข็งแล้ว ภาคเอกชนจะรับภารกิจนั้นไปดำเนินการเอง  

 

สถาบันเหล่านี้จะไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล แต่จะจัดตั้งมูลนิธิขึ้นมารองรับ เป็นองค์กรรองรับด้านการเงินและในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โครงสร้างการบริหารงาน จะบริหารงานโดยคณะกรรมการ หรือ คณะกรรมการบริหาร เป็นผู้กำหนดนโยบาย ควบคุม ดูแล ติดตาม และประเมินผล คณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานแม่ต้นสังกัด ภาคเอกชน ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม  แยกการบริหารเป็น  ๒ คณะกรรมการ คือ คณะกรรมการมูลนิธิ และคณะกรรมการบริหาร สถาบันจะมีการกำหนดกฎระเบียบที่ใช้ในการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และพัสดุ ที่แตกต่างไปจากกฎระเบียบของทางราชการ และรัฐวิสาหกิจ งบประมาณที่ใช้จ่ายในการดำเนินงานมาจากรายได้ในการดำเนินงาน และงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปีในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไป  

 

(ข้อมูลอ้างอิงจาก คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน หรือ กพม.) 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ๗ 

โปรแกรม MRP มี ๔ ระดับ 

ระดับที่ ๑ : ระดับทดลอง Trial 
ระดับที่ ๒ : ระดับจำเป็น Essential  
ระดับที่ ๓ : ระดับมาตรฐาน Standard 
ระดับที่ ๔ : ระดับปรมาจารย์ Master 

โดยมีรายละเอียดการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้ 

ระดับที่ : ระดับทดลอง Trial 

 

เป็นการเรียนรู้แบบ Onsite ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ และฝึกฝน ทั้งหมด 12 ชั่วโมง โดยมีการเรียนการสอน จำนวน 9 คาบ ๆ ละ 2 ชั่วโมง แบ่งเป็น 4 บัลลังก์ๆ ละ 20 นาที / พัก 10 นาที หรือ สามารถเรียนรู้ช่องทาง Online ผ่านระบบ ZOOM ได้ โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ วันละชั่วโมง ( 12 วัน โดยนับชั่วโมงการปฏิบัติให้ครบ 12 ชั่วโมง) 

ขั้นตอนการเรียนการสอน : คาบเรียน 

คาบที่ 1 
บล. 1 ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน (ให้ผู้เรียนนั่งตามแบบที่เคยฝึกมา แล้วครูผู้สอนคอยสังเกตการตอบสนอง หรือ การแสดงออกของผู้เรียน) 
บล. 2  แนะนำโปรแกรม MRP 
บล. 3. พาเข้ารหัสแห่งสติ เริ่มจาก Bในโพรงจมูก ได้แก่ B1 - B4 
บล. 4  พาเข้ารหัสแห่งสติ B ในแนวดิ่ง ได้แก่ Door - B7 

 

คาบที่ 
บล. 1 - บล. 4  ทบทวน B1 - B4 

 

คาบที่ 3 
บล. 1 - บล. 4  ทบทวน Door - B7 

 

คาบที่ 4 
บล. 1 - บล. 4  ประเมินผลทักษะการเรียนรู้  B1-B7 และ Door 
 

คาบที่ 5 
บล. 1 - บล. 4  เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะ  O8 และ PP 

 

คาบที่ 6 
บล. 1 - บล. 4  เรียนรู้ และฝึกฝนทักษะ 08 

 

คาบที่ 7 
บล. 1 - บล. 4  ทบทวนทักษะการเรียนรู้ “จุดปัจจุบันทั้งเก้า” (B1-B7, Door, O8) 

คาบที่ 8 
บล. 1 - บล. 4  ประเมินผลทักษะการเรียนรู้ “จุดปัจจุบันทั้งเก้า” 

 

คาบที่ 9  
(บล. 1- บล. 4)  ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 120 นาที แบ่งเป็น 5 ช่วงดังนี้  

1. สอบปฏิบัติ (นั่งเจริญสติ) 60 นาที 
2. พักเบรค  10 นาที 
3. ถาม-ตอบ 20 นาที 
4. พักเบรค 10 นาที 
5. สรุปผลการเรียนรู้โปรแกรม MRP ระดับที่ 1 ระดับทดลอง Trial และส่งต่อระดับที่ 2 ระดับจำเป็น Essential 20 นาที 

 

ระดับที่ : ระดับจำเป็น Essential  

เป็นการเรียนรู้แบบ Onsite ใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ และฝึกฝน 8 วัน โดยนับชั่วโมงการปฏิบัติให้ครบ 60 ชั่วโมง แบ่งเป็น 30 คาบเรียนๆละ 2 ชั่วโมง แบ่งเป็น 4 บัลลังก์ๆ ละ 20 นาที / พัก 10 นาที  หรือ สามารถเรียนรู้ช่องทาง Online ผ่านระบบ ZOOM ได้ โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ วันละชั่วโมง ( 60 วัน โดยนับชั่วโมงการปฏิบัติให้ครบ 60 ชั่วโมง) 

 

ขั้นตอนการเรียนการสอน : คาบเรียน 

 

คาบที่ 1-2   

ทบทวนรหัสแห่งสติ  O, B , PP และนำเข้าสู่ ระดับที่ 2 ระดับจำเป็น Essential 

 

คาบที่ 3 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 1: การออกกำลังจิต 

 

คาบที่ 4 

 เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 2: การสัมผัสรับรู้ B ที่โดดเด่น 

 

คาบที่ 5 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 3: การตื่นรู้อยู่กับ B อันเป็นที่รัก 

 

คาบที่ 6 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 4: การอธิษฐานจิต 

 

 

คาบที่ 7 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 5: การตังสัจจะอธิษฐาน 

 

คาบที่ 8 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 6: การแผ่นกระแสบุญ 

 

คาบที่ 9 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 7: การทำ MOU (ข้อตกลงความร่วมมือ) 

 

คาบที่ 10 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 8: การเพิ่มพลังจิตที่ O8 

คาบที่ 11 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 9: การเพิ่มความเร็วของจิต 

 

คาบที่ 12 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 10: การทำสัมมาสมาธิเบื้องต้น 

 

คาบที่ 13 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 11: การสื่อสารกับจิตจักรวาล 

 

คาบที่ 14 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 12: การสลายพลังงานขยะ 

 

คาบที่ 15 

เรียนรู้และฝึกฝน เทคนิคที่ 13: การผสมสูตรรหัสแห่งสติ 

 

คาบที่ 16 

เก็บตกในแต่ละเทคนิคที่ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ชัดเจน 

 

คาบที่ 17-29 

ทบทวนทักษะทั้ง 13 เทคนิค 

 

คาบที่ 30 

บล. 1-3  สอบปฏิบัติ (นั่งเจริญสติ) 90 นาที 

บล. 4     ถาม - ตอบ / สรุป 13 เทคนิค และส่งต่อระดับที่ 3 ระดับมาตรฐาน Standard 

  

ระดับที่ : ระดับมาตรฐาน Standard 

เป็นการเรียนรู้แบบ Onsite หรือ Online ผ่านระบบ ZOOM โดยเรียนรู้ภาคทฤษฎี 18 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง แล้วทำการบ้านด้วยการฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง โดยเก็บชั่วโมงต่อวันได้ 8 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 88 วัน เพื่อนับชั่วโมงการปฏิบัติจนครบ 720 ชั่วโมง 

หมายเหตุ: กรณีมาพักในค่ายฝึกเจริญสติเพื่อเก็บชั่วโมงการปฏิบัติ สามารถเก็บชั่วโมงได้ 16 ชั่วโมงต่อวัน 

 

การจบโปรแกรมระดับมาตรฐาน จะต้องมาเข้าแคมป์เพื่อจบเป็นระยะเวลา 10 วัน โดยมีการฝึกฝนเรียนรู้ จำนวน 40 คาบเรียนๆ ละ 2 ชั่วโมง 

 

ขั้นตอนการเรียนการสอน : คาบเรียน 

 

คาบที่ 1-4 

ทบทวนระดับที่ 1 และระดับที่ 2 และหมุนกงล้อแห่งการตื่นรู้ 

 

คาบที่ 5-39 

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการหมุนกงล้อแห่งการตื่นรู้ให้ครบทุกสูตร ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ภาควิชาการ เรื่อง ศิลปะการยกระดับจิตสู่มาตรฐานสติปัฏฐานสี่ (กาย/บ้านของจิต, เวทนา/สภาวะความรู้สึกของจิต, จิต/สภาวะอารมณ์ของจิต, และ ธรรม/ภูมิปัญญาของจิต) ในระหว่างการเรียนรู้และฝึกฝนนี้ยังมีการสอบข้อเขียน การปฏิบัตินอกสถานที่และการสอบปฏิบัติ (หมุนกงล้อแห่งการตื่นรู้) ควบคู่ไปด้วย 

 

คาบที่ 40 

สอบปฏิบัติ (นั่งเจริญสติ) 120 นาที 

ถาม-ตอบ / สรุปทักษะความรู้ระดับที่ 3 ระดับมาตรฐาน Standard และส่งต่อระดับที่ 4 ระดับปรมาจารย์ Master 

ระดับที่ : ระดับปรมาจารย์ Master  

ใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ด้วยการเข้าแคมป์ หรือ เรียนทางไกล เพื่อเรียนรู้ และฝึกฝนทั้งหมด 108 วัน (ช่วงเข้าพรรษาประจำปี) โดยนับชั่วโมงการปฏิบัติให้ครบ 1,684 ชั่วโมง ในระดับนี้จะมีการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เรื่อง “การประเมินผลพฤติกรรมของปรมาจารย์แห่งสติ” ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ Learning by Doing และ Learning by Teaching  

หมายเหตุ: มีการสอบข้อเขียน และสอบปฏิบัติ (นั่งเจริญสติ) 180 นาที is.