บทความที่ 9: B7 และ สัมมาสมาธิ
ผู้เรียนได้เดินทางมาด้วยกัน และมาได้ไกลบนเส้นทางแห่งความตื่นรู้ ในโปรแกรม MRP ด้วยรหัส B ตั้งแต่ B1 B2 B3 B4 Door B5 B6 จนถึงปัจจุบันนี้ ที่ทุกคนจะได้เรียนรู้จุดปัจจุบันสุดท้ายของรหัส B นั่นคือ B7
สิ่งที่ผู้เรียนจะได้ประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ และฝึกฝนการเจริญสติ ผ่านรหัส B นี้ ก็คือ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตื่นรู้อยู่กับปัจจุบัน อย่างมีเหตุผลบนตัวชี้วัดการอยู่กับปัจจุบัน อันได้แก่ จุดปัจจุบันทั้งแปดในรหัส B
จากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในการฝึกฝนอบรมตนให้เป็นผู้มีสติผ่านทักษะในการสัมผัสรู้ B ต่างๆที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าหากไม่มีการเรียนรู้ฝึกฝนตนเอง ด้วยการลงมือทำผ่านสมมติบัญญัติ โดยใช้รหัส B คงจะทำให้ผู้เรียนมีความยากลำบากในการค้นพบ และเข้าถึงความจริง คือ พลังแห่งสติ ในตนเอง
ดังนั้นเราจึงต้อง ถอดรหัสธรรม เดินตามพระพุทธองค์ ด้วยการลงมือฝึกฝนการเจริญสติด้วยรหัส B เช่นนี้แล
บทเรียนนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึง ประโยชน์และคุณลักษณะของ B7 ควบคู่ไปกับ สัมมาสมาธิ อันจะทำให้ทุกคนมีความเข้าใจและรู้แจ้งในเรื่องของการเจริญสมาธิที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยอาศัย B7 เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนตั้งข้อสังเกตว่า สมาธิ โดยทั่วไปที่คนส่วนใหญ่ฝึก หากเป็นรูปแบบใดๆที่ไม่มีสติหนุน และเร่งรีบเพื่อจะให้ตนเองมีสมาธิ ก็จะถูกมาร หรือ ตัณหา กระตุ้นให้ผู้นั้น ติดใจในความสุขอันเกิดจากความสงบที่ได้จากผลลัพธ์ของการทำสมาธิ จนถอนตัวไม่ออก หรือ เกิดการยึดติดในสมาธิ นั่นเอง
ความสุขอันเกิดจากความสงบ ที่ผู้คนปรารถนา หรือ การที่ชนทั้งหลายต่างวิ่งหนีออกจากความวุ่นวายในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อไปหาความสงบอันเกิดจาก สมาธิ ด้วยวิธีการฝึกแบบเพ่งบางอย่าง โดยไม่ได้ฝึกเจริญสติให้แข็งแรงก่อน เมื่อเกิดความสุขที่ได้รับจากความสงบ จะถูกมาร หรือ ตัณหา หลอกลวง ให้จิตนั้นเกิดการหลงผิด และยึดติดในวิธีที่ผิด และผลลัพธ์ที่ได้รับนั้น
สมาธิ และผลลัพธ์ที่ได้รับจากการทำสมาธินั้น ดี แต่ การยึดติด ที่มีต่อสมาธิและผลลัพธ์นั้น ไม่ดี!!!
สติ เป็นเหตุ สมาธิ เป็นผล
สัมมาสติ เป็นเหตุ สัมมาสมาธิ เป็นผล
ด้วยเหตุนี้ การฝึกเจริญสติ โดยใช้เครื่องมือ คือ B ต่างๆ จะทำให้เกิด การฝึกฝนเจริญสมาธิ ที่ถูกต้องด้วย
ยิ่งจิตมีสติตื่นรู้อยู่กับ B ที่มีความละเอียดประณีตมากเท่าไหร่ จิตจะยิ่งมีความก้าวหน้าในการทำสัมมาสมาธิ มากเท่านั้น
ในรหัส B ทั้งหมด B7 มีลักษณะที่ประณีตละเอียดที่สุด ดังนั้น จิตที่จะสามารถเข้าไปสัมผัสจุดปัจจุบันนี้ได้ ย่อมต้องมีพลังแห่งสติที่ละเอียดประณีตเช่นเดียวกัน และเมื่อจิตใดสัมผัสรับรู้ B7 ได้ชัดเจนจนเชี่ยวชาญแล้ว จิตนั้นจะเข้าใจ และเข้าถึง คำว่า สัมมาสมาธิ ที่ตนสะสมประสบการณ์มานับตั้งแต่การมีสติมีสมาธิอยู่กับ B1 จนกระทั่งถึง B7
B7 จึงเป็นตัวชี้วัดการเข้าถึงสมาธิที่ถูกต้อง
B7 คือ ชีพจร หรือ ลมภายใน อันเป็นลมหายใจที่ละเอียด เป็นจุดปัจจุบันที่ตั้งอยู่เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือของแต่ละคน มีพิกัดอยู่ในแนวดิ่ง หรือ อยู่ใต้ประตู อยู่ถัดลงมาต่อจาก B6
หากทดลองใช้นิ้วมือกดลงไปลึกๆ ณ จุดปัจจุบันนี้ ผู้เรียนจะสามารถสัมผัสรับรู้ได้ถึงการเต้นตุบๆของชีพจรบริเวณหน้าท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กายหายใจเข้าออกสุด แล้วผนังหน้าท้องนี้กำลังจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนจาก พองเป็นยุบ หรือจาก ยุบเป็นพอง หากสามารถจับจังหวะนี้ได้ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนสัมผัส B7 ได้ชัดเจนขึ้น
การเข้าไปสัมผัส B7 นี้ ผู้เรียนต้องเข้าออกให้ถูกขั้นตอนไปตามลำดับ คือ เคลื่อนตนจาก O8 ไปประตู แล้วต่อด้วย B7 หรือ จะเข้าแบบเรียงลำดับจาก O8 > ประตู > B5 > B6 > B7 ก็ได้ แล้วเมื่อจะออกจาก B7 ก็ต้องย้อนกลับไปตามลำดับเช่นกัน
หากฝึกฝนตนเองได้เช่นนี้ จิตจะเริ่มมีพลังของสติ และพลังของสมาธิ ในตนเองเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ และเป็นไปตามเวลาที่ใช้การฝึกฝน
สมาธิ แปลว่า จิตตั้งมั่น หรือ ความตั้งมั่นของจิต ณ ปัจจุบันขณะนั้น
สมาธิ เกิดจาก การเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อทำให้จิตตั้งมั่นอยู่กับสิ่งที่ตนเพ่งอยู่นั้น
การเพ่งที่ถูกต้องนั้น ควรเพ่งในสิ่งที่สมควรเพ่ง ต้องมีสติในการเพ่ง และมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพ่ง
เมื่อรู้สึกตัวว่าตนตั้งมั่นอันเกิดจากการเพ่งนั้นแล้ว ก็ให้ปล่อยการเพ่ง แล้วปล่อยให้การรับรู้นั้นเป็นธรรมชาติ
ลมหายใจ ในรหัส B โดยเฉพาะ B7 เป็นสิ่งที่สมควรเพ่ง
ในขณะที่ตื่นรู้อยู่กับ B7 อยู่นั้น จิตได้เป็นผู้มีสติในการเพ่ง B7
ในขณะที่จิตมีสติมีสมาธิอยู่กับ B7 ในขณะนั้น เรียกว่า ปัจจุบันขณะ ซึ่งถือเป็น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพ่ง
เมื่อรู้สึกตัวว่าตนมีความตั้งมั่นอันเกิดจากการเพ่ง B7 นั้นแล้ว ก็ให้ปล่อยการเพ่ง แล้วปล่อยให้การรับรู้ของตนที่มีต่อ B7 นั้นเป็นธรรมชาติ สบายๆ
หากผู้เรียนมีสมาธิแล้ว จะเห็นตนเองตัดการติดต่อกับโลกภายนอก และจะเห็นตนเองเข้ามาอยู่ในห้องสมาธิของตนเองด้วยการอยู่กับ B7 พอจิตมาอยู่กับจุดปัจจุบันนี้ จิตจะสัมผัสรับรู้เฉพาะ B7 อย่างต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ ตามกำลังของการเพ่งที่ถูกต้องนี้ จนหมดกำลังก็จะถอยออกจากการเจริญสมาธิด้วย B7 แล้วมาเจริญสติต่อด้วยการมาสัมผัส B อื่นๆต่ออย่างไม่ขาดตอน จนกระทั่งมาตั้งหลักที่ O8 อีกครั้งหนึ่ง แล้วเมื่อปรารถนาจะฝึกฝนเจริญสมาธิอีก ก็ให้ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องต่อไป
ในระหว่างที่ฝึกฝนตนเองทุกครั้ง ให้ผู้เรียนคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของ B7 คือ ให้เห็นความเกิดดับที่สืบต่อของเค้า หรือ สังเกตลักษณะความสืบต่อของการเต้นตุบๆของ B7 ให้ดี แล้วสังเกตไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกตัวว่าตนนั้นเริ่มนิ่ง
ตอนเริ่มต้น จิตอาจจะเคลื่อนไหว แกว่งไปตามจังหวะการเต้นของ B7 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่อีกไม่นาน หลังจากนั้น หากจิตรับรู้การเคลื่อนไหวของ B7 อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จิตจะมีความนิ่ง คือ นิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อมาจิต จะไม่เคลื่อนตาม B7 แต่จะนิ่งดู B7 นั้นเคลื่อนที่ผ่านตนเอง แล้วตนก็นิ่งดู B7 ไปเรื่อยๆอย่างนี้
ในยามที่จิตนิ่ง ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือ ไม่ได้เต้นตาม หรือ ไม่ไหลไปตาม B7 จิตจะมีสมาธิมากขึ้น ยิ่งนิ่งนาน ยิ่งตั้งมั่น
พลังแห่งสมาธิที่แท้จริงของจิตนั้น ต้องอยู่เหนือการถูกรบกวน ด้วย PP ทั้งปวง จนเกิดความเป็นกลาง ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยอำนาจของมาร หรือ ตัณหา ที่ PP ใดๆ
จิตที่มีความเป็นกลาง นิ่ง มั่นคง อยู่ ณ ห้องสมาธิ และอยู่กับ B7 โดย ไม่ยึดติด เช่นนี้ เรียกว่า จิตสมดุล หรือ จิตมีอุเบกขา นั่นเอง
เมื่อจิตได้มาฝึกฝนอบรมตนอย่างนี้บ่อยๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญในการอยู่กับ B7 แล้วมีสมาธิที่ถูกต้อง จิตจะสามารถเพิ่มพูลพลังชีวิตของตัวเองในห้องสมาธิ แล้วออกไปเผชิญ หรือ ไปรับมือ กับทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง ได้อย่างมีกำลัง
เมื่อผู้เรียนมีทักษะในการตื่นรู้ และมีสมาธิอยู่กับ B7 ตามบทเรียนนี้ได้แล้ว ผู้เรียนจะมีความสามารถในการใช้สูตรรหัสแห่งสติ คือ
O8+B7=PP (ความวุ่นวาย)
เพื่อพาตนเองมาอยู่กับความสุขอันเกิดจากความสงบ ด้วยความตื่นรู้ อยู่นิ่งๆ ในห้องสมาธิ และ B7 นี้ อย่างปลอดภัยจากอำนาจของมาร หรือ ตัณหาที่ PP ได้อย่างอัศจรรย์
ในที่สุดจิตก็จะเห็นทุกอย่างในสูตรนี้ เกิดดับๆ สืบต่อกันไป จนกระทั่งเห็นทุกอย่างดับหมด ณ ปัจจุบันขณะใด ขณะหนึ่ง ด้วยจิตผู้ดูที่ตั้งมั่นเช่นนี้เอง
ทั้งหมดที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากบทเรียนบทนี้ ก็คือ การเข้าถึง ซึ่งคำว่า สติ และสมาธิ ที่ถูกต้อง ด้วยจิตที่เป็นกลางมีอุเบกขา แล้วเกิดภูมิปัญญารู้แจ้งเห็นความจริง คือ ธรรมชาติสามประการ ได้แก่ ความไม่คงอยู่ถาวร ความไม่สมบูรณ์ และบังคับไม่ได้ ตลอดการเดินทางนี้ ด้วยตนเอง จึงค้นพบว่า