บทความที่ 6: B4
B4
ผู้เรียนที่มีความสามารถในการใจุสัมผัสจุดปัจจุบัน คือ B1 B2 B3 ของรหัสแห่งสติ ในโปรแกรม MRP อยู่เป็นประจำ จะทำให้มีความเข้าใจ และมีความเชื่อมั่นในตนเองในการดำรงชีวิตอย่างผู้มีสติ ยิ่งกว่าเดิมอย่างแน่นอน
และเพื่อเป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจาก B ก่อนหน้านี้ นั่นคือ B1 B2 B3 ซึ่งเป็นเรื่องของลมหายใจภายนอก หรือ อากาศที่กายสูดหายใจเข้าไป มี 2 ประเภท คือ ลมหายใจบังคับ (B1 B2) และลมหายใจธรรมชาติ (B3)
คราวนี้เรามาเรียนรู้ B สุดท้ายที่ตั้งอยู่ในโพรงจมูก นั่นคือ B4
ณ จุดสัมผัสอันเป็นที่ตั้งของ B1 B2 B3 ให้ผู้เรียนขยับการสัมผัสรับรู้ลึกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนังที่ผิวเพดานของโพรงจมูก ซึ่งจะมีเส้นเลือดฝอยกระจายอยู่ทั่วไป อันจะทำให้สามารถสัมผัสได้ถึงการเต้นของชีพจรที่เกิดจากแรงดันจากการสูบฉีดของหัวใจ ไปตามเส้นเลือดฝอยในบริเวณนี้ ซึ่ง เรียกว่า B4 หรือ ชีพจร หรือ ลมภายใน ซึ่งเป็นลมหายใจธรรมชาติที่มีความละเอียด ประณีตกว่า B1 B2 B3
B4 นี้จะเต้นเป็นจังหวะเดียวกันกับหัวใจเต้น แต่มีความเบากว่า เพราะว่าเป็นชีพจรในเส้นเลือดฝอย ซึ่งผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการสัมผัสรับรู้ เรื่องลมภายนอกแล้ว ก็ไม่ยากที่จะสัมผัสรับรู้ B4 นี้
ส่วนผู้ใด ที่ยังไม่สามารถใช้พลังจิตของตัวเองที่มีสติมาสัมผัสรับรู้ B4 ได้ขอแนะนำให้ใช้นิ้วมือ 2 นิ้วกดลงไปบริเวณจุดเดียวกันกับที่ตั้งของ B1 B2 B3 โดยให้กดลงไปพอประมาณ แล้วลองสูดลมหายใจเข้าไปแบบ B1 หรือ B2 หรือ ใช้วิธีพูดให้ออกเสียงให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาที่ปลายนิ้วมือที่แตะลงไปนี้ ก็จะช่วยให้สามารถสัมผัสรับรู้ B4 ได้ชัดเจนขึ้น
เมื่อรับรู้ว่าได้ว่ามีการสัมสั่นสะเทือนที่ปลายนิ้วที่กดลงไปนี้แล้ว ให้ผู้เรียนสัมผัสลึกลงไปอีกนิดหนึ่ง แล้วให้ยกนิ้วมือที่กดลงไปนั้นออก ก็จะรับรู้ว่าได้ว่าตนสามารถสัมผัส B4 ได้แล้วอย่างเป็นธรรมชาติ
อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสัมผัส B4 ได้ นั่นคือ ให้อาศัย B2 ตอนหายใจเข้าลึกสุด และ/หรือ หายใจออกยาวสุด แล้วให้ผู้เรียนกลั้นลมหายใจในขณะที่กาย หายใจเข้าออกสุดนั้นสักครู่หนึ่ง จนกระทั่งรู้สึกเหมือนกายจะหายใจไม่ออก วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียน สามารถสัมผัส B4 ได้เช่นกัน
หากผู้เรียนพยายามทำตามวิธีต่างๆที่แนะนำไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถสัมผัสรับรู้ B4 ได้ อย่าท้อ ให้เพียรต่อไป และจงมีความมั่นใจในตนเองว่า อีกไม่นานก็จะสามารถสัมผัสได้ เพราะ B4 ตั้งอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว ไม่ได้เคลื่อนหนีไปไหน เพียงแต่ว่าต้องสะสมประสบการณ์ในการฝึกฝนเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง
ในระหว่างที่ฝึกฝนแล้วยังไม่สามารถสัมผัส B4 ได้ให้ผู้เรียนถอยกลับมาอยู่กับ B1 B2 B3 ไปพลางๆก่อน แล้วค่อยขยับขึ้นไปสัมผัสชิดที่ชั้นใต้ผิวหนังเพื่อสัมผัส B4 และให้ฝึกซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ
เมื่อใดที่กำลังสติที่มีอยู่ในจิตมีพลังมากพอก็จะสามารถสัมผัสรับรู้ B4 ได้อย่างง่ายดาย
แม้นว่าจะสามารถสัมผัส B4 ได้ครู่เดียว แล้วหลุด ก็อย่าท้อ อย่าบ่นและ อย่าเสียดาย ปล่อยให้เป็นอดีต ให้รีบกลับมาอยู่กับปัจจุบันใหม่ด้วยการถอยมาอยู่กับ B3 B2 B1 B1 B2 B3 B3 B2 B1 B2 B3 อยู่อย่างนี้ เพื่อเป็นการตั้งหลักจนมีกำลังสติมากพอ จึงเคลื่อนไปสัมผัส B4 ต่อ หากเพียรต่อเช่นนี้ก็จะสามารถทำได้ในที่สุด
เมื่อผู้เรียนสามารถสัมผัสรับรู้ B4 ได้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อไปเราจะมาใช้เรียนรู้ประโยชน์ของ B4
B4 นั้น จะยังประโยชน์ให้ผู้เรียนมากๆ เมื่อได้เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ หรือ PP ที่เกี่ยวข้องกับการเต้นของชีพจรของกาย หรือ PP ที่เกี่ยวข้องกับแรงสั่นสะเทือนของการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ ของกาย
ยกตัวอย่างเช่น ในยามที่เดินอยู่ แล้วเท้าสัมผัสพื้น จะเกิดแรงสั่นสะเทือน จากพื้นเท้าขึ้นมาทั่วสรรพางค์กาย
หรือ ในยามที่กายเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมทางกายต่างๆ เช่น มือจับถือสิ่งของ หรือ กายกำลังทํางานอยู่ แล้วมีการเคลื่อนไหวทํากิจกรรมต่างๆในการดํารงชีวิตประจําวัน ในยามนั้นจะมีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นทั่วสรรพางค์กายด้วย
เมื่อใดที่มีการเคลื่อนไหวของกาย หรือ การที่กายมีการกระทบกับวัตถุใดๆ ก็ตามจากกายสัมผัส ย่อมมีการกระทบกัน แรงสั่นสะเทือนนั้นก็จะปรากฏให้เรารับรู้ ได้อยู่เสมอ
หากใครสามารถสังเกตการสั่นสะเทือนดั่งที่ยกตัวอย่างไปนั้นได้ ให้มาอาศัย จุดปัจจุบัน คือ B4 เป็นตัวชี้วัดการรับรู้แรงสั่นสะเทือนนั้น และยืนยันการอยู่กับปัจจุบันของตนเองว่า ปัจจุบันนี้ตนกําลังทําอะไรอยู่ และปัจจุบันนี้ตนได้อยู่กับตัวชี้วัดปัจจุบัน คือ B4
นอกเหนือจากตัวอย่างที่ได้ยกมาแสดงแล้วนั้น ยังมีตัวอย่างเพิ่มเติมอีก
เช่น เมื่อเราเฝ้าสังเกตกายที่นั่งอยู่ กายที่นั่งอยู่นั้น ต้องมีส่วน ที่เป็นจุดโค้ง จุดพับ จุดงอ จุดกดทัพ เมื่อเพิ่มแรงโน้มถวงของโลกเข้าไป การรับน้ำหนักของกายท่อนล่างที่สัมผัสพื้นย่อมเพิ่มขึ้น
เมื่อกายถูกกดทับ เส้นเลือด เส้นปราสาทที่ถูกกดทับอยู่นั้น ย่อมเคลื่อนไหวไม่สะดวก จึงทำให้เกิดอาการ ปวด เจ็บ เหน็บ ชา เมื่อย แสบร้อน หรือ อาจเป็นตะคริวได้
อาการต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเพราะว่ากายนั้น กำลังปรับสมดุล จากการอยู่ในอิริยาบถนั่งนั้น นั่นเอง
อาการกายที่เกิดขึ้นตามที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ ในโปรแกรมได้กำหนดให้เป็น PP
ผู้เรียนที่ยังเป็นผู้ฝึกใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ PP ต่างๆเหล่านี้เพียงพอ ก็จะเข้าไปจัดการกาย เช่น ไปสั่งขยับกายท่อนล่าง เพราะทนทดสอบไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อรับมือกับอาการชา อาการเหน็บ อาการปวด ไม่ไหว ก็จะถูกมาร หรือ ตัณหา กระซิบ ทำให้เกิดความท้อถอย ในการฝึกฝนอบรมตนให้อยู่กับปัจจุบัน หรือ อาจทำให้เลิกฝึกฝนไปเลยก็เป็นไปได้
เมื่อจิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของมาร หรือ ตัณหา ย่อมถูกควบคุม ให้ดิ้นรนต่อสู้ หรือ วิ่งหนี PP จนกระทั่งถูกกระตุ้นให้เกิดสภาวะอารมณ์โลภ โกรธ หลงผิด ขึ้นมา จิตจึงทุกข์ทรมานด้วยสภาวะอารมณ์ต่างๆเหล่านั้น
ดังนั้นเมื่อผู้เรียนได้พบว่า มี PP ปรากฏขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของกาย เช่น มีอาการปวด หรือ เจ็บ ที่ตาตุ่ม ซึ่งเกิดจากการกดทับ สิ่งแรกที่ผู้เรียนต้องทำคือ ให้รีบกลับมาตั้งหลักที่ O8 โดยเร็ว และ เมื่อมาอยู่ที่ O8 แล้วให้สัมผัสพลังจิตของตนเอง จากนั้นให้สังเกต PP นั้นด้วยการสแกนหาชีพจร ณ จุดที่กดทับ บริเวณตาตุ่มที่กำลังปวดเจ็บอยู่นั้น (ตรงจุดนั้น กระแสเลือดเดินทางไม่สะดวก จึงมีแรงดัน หรือ ชีพจร เพิ่มขึ้น เพราะหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น)
หากผู้เรียนสามารถสแกนพบชีพจร ณ จุดกดทับนั้นได้แล้วอย่างชัดเจน ให้ประคองตนอยู่กับ B4 ให้มั่นคง แล้วสังเกต ความสัมพันธ์ระหว่าง ชีพจรที่เต้น ณ จุดปวดนั้น กับ B4 ว่ามีเคลื่อนไหวเป็นจังหวะที่ใกล้เคียงกัน หรือ เป็นจังหวะเดียวกัน
ใครที่สามารถสังเกตได้ดังกล่าว จะเห็น PP (ความปวด) ที่เกิดขึ้นนี้ มีการเคลื่อนไหวเกิดดับๆ อยู่ตลอดเวลา จากนั้นจะเห็น PP นั้นดับลงพร้อมกับ B4 ได้ในที่สุด
เมื่อนั้นความทุรนทุรายที่จะขยับกายก็จะสิ้นสุด การปรุงแต่งที่เกิดจากเสียงกระซิบของมาร หรือ ตัณหา ที่คอยบอกว่าปวดจะตายๆ นั้นก็ดับลง
ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ ทำให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของ B4 ผ่านการผสมสูตรรหัสแห่งสติ คือ O8+B4=PP (ปวด เจ็บ เหน็บ ชา ฯลฯ)
หลังจากที่ได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีทักษะของการเป็นจิตผู้ดูที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถขยายผลไปสู่การสร้างสมดุลชีวิตในการดำรงชีวิตประจำวันด้วยสูตร O8+B4=PP (ปวด เจ็บ เหน็บ ชา ฯลฯ) ในยามที่มี PP ปรากฏขึ้น เช่น ปวดศีรษะจากไข้ ปวดไมเกรน การมีแผลอักเสบ การถูกกระทบ ถูกตี ด้วยของแข็งหรืออุบัติเหตุใด ๆ อาการกำเริบของโรคเก้า โรครูมาตอย ความปวดแสบที่กระเพาะอาหาร หรือแม้แต่ การอักเสบด้วยโรคที่รุนแรงถึงระดับมะเร็งในตับ ในปอด หรือ ในอวัยวะที่สำคัญต่างๆ ที่เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆนานา ได้ด้วย
เมื่อใดที่ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญในการใช้สูตรนี้ จะสามารถเห็นความดับ หรือ จับ PP ได้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น โดยไม่ต้องรอบเพื่อที่จะเห็น PP นั้นๆดับตอนที่เกิดอาการแล้ว
ซึ่งในบางครั้งผู้เรียนที่มีศักยภาพในการเรียนรู้บทเรียนนี้ ยังสามารถเห็น PP นั้นดับในขณะที่อยู่กับ O8 โดยที่ไม่ต้องผสมสูตรกับ B4 หรือ บางทีสามารถเห็น PP นั้นดับในขณะที่อยู่กับ B4 โดยที่ไม่ต้องผสมสูตรกับ O8 เลยก็เป็นไปได้