กรอบการวิจัยและพัฒนา
วิสัยทัศน์
ปรารถนาให้เพื่อมนุษย์มีสุขภาพจิตดีและมีความสุขในทุกมิติ
พันธกิจ
ส่งมอบโปรแกรม MRPให้เข้าถึงเพื่อนมนุษย์ ตั้งแต่ทารกในครรภ์ จนถึง ผู้สูงอายุ ผู้ที่กำลังรอความตายให้มีสุขภาพจิตดีและมีความสุขในทุกมิติ (ทุกเพศ ทุกวัย)
ทิศทางพันธกิจ
ป้องกันตนไม่ให้จิตเสื่อม
นำตนออกจากสุขภาพจิตเสื่อมสำเร็จ
ส่งเสริมและรักษาสภาวะสุขภาพจิตดีให้มีในตน
ทะนุบำรุงรักษาสภาวะสุขภาพจิตดีในตน ให้เติบโต งอกงาม ไพบูลย์
***โดยใช้ MRP Program และ R&D
แผนกลยุทธ์
การเผยแพร่ หลักสูตร MRP Program ทั้ง 4 ระดับ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มต่างๆ
การสร้าง Masters เพื่อถ่ายทอด MRP Program
การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด ชุมชนผู้มีสติ (Mindfulness Model) มากขึ้น ผ่าน M2 และ M-Siam
ความร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่ายในการส่งเสริมให้เกิดสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุขในมิติต่างๆ แก่เพื่อนมนุษย์ โดยมีโปรแกรม MRP เป็นเครื่องมือการวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งมอบ MRP Program ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมายภารกิจ
การเผยแผ่โปรแกรม MRP โดย กลุ่ม Master ทั้ง onsite และ online
เริ่มขยายไปยัง กลุ่มต่างๆ เช่น เรือนจำ โรงเรียน ชุมชน
เครือข่ายพันธมิตร เช่น การแพทย์ (สุขภาพจิต), การศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย, การกีฬา, องค์กรต่างๆ, ชุมชน และ อื่นๆ
วิจัยและพัฒนาโปรแกรม
งานวิจัย
การศึกษาและประเมิน ผลของ MRP Program ที่เผยแผ่ไปยังกลุ่มต่างๆ
การศึกษาและประเมิน รูปแบบการถ่ายทอด MRP Program ของ Masters
การศึกษาและถอดบทเรียน ชุมชนผู้มีสติ (Mindfulness Model)
ฯลฯ
งานพัฒนา
แผนพัฒนา MRP Program
แผนพัฒนา Master
แผนพัฒนาร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ
ฯลฯ
การศึกษาและประเมินผลของ MRP Program ที่เผยแผ่ไปยังกลุ่มต่างๆ
เพื่อศึกษา ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลที่เป็นปัจจัยในมิติต่างๆ
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในมิติใดบ้าง
เพื่อวัดผลของการมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุขภายหลังการอบรม
(วัดก่อนและหลังการฝึกอบรม)
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ทำให้ทราบความเหมาะสมของรูปแบบ ช่องทาง ระยะเวลาในการจัดการเรียน การสอน
ทำให้ทราบถึง Biodata ความต้องการ ความคาดหวังและแรงจูงใจของผู้เรียน
ทำให้ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในมิติต่างๆ
เพื่อวัดผลผู้เข้าเรียนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุขมากขึ้นหลังจากเข้าเรียนมากน้อยเพียงใด
ผู้บริหารโปรแกรมสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรม MRP ให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน
การศึกษาและประเมินรูปแบบการถ่ายทอด MRP Program ของกลุ่ม Master
รูปแบบการถ่ายทอดโปรแกรม
ความถูกต้องของเนื้อหาและสาระ
การประยุกต์ใช้ MRP Program ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน
ความพึงพอใจ ความเข้าใจของผู้เรียนที่มีต่อ MRP Program และ กลุ่ม Master
การประเมินผลลัพธ์
ความพึงพอใจ ความเข้าใจของผู้เรียนที่มีต่อ MRP Program และ Masters
การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา สาระจากเทปบันทึกการสอน
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารโปรแกรม ในการปรับปรุงพัฒนา Master ให้มีศักยภาพในการสอน
การถ่ายทอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การศึกษาและถอดบทเรียน ชุมชนผู้มีสติ
ศึกษาและถอดบทเรียน ชุมชนผู้มีสติ หรือกลุ่ม หรือองค์กร ซึ่งสมาชิกของชุมชนหรือกลุ่มหรือองค์กร ได้ผ่านการศึกษาใน MRP Program มีการรวมตัวกัน หรือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร หรือชุมชน หรือกลุ่ม อย่างสร้างสรรค์ สมาชิกมีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุขในมิติต่างๆ มีความสามารถในการสร้างสมดุลชีวิต
ทำให้ทราบถึง ผลของโปรแกรมที่ส่งผลให้สมาชิกภายในชุมชนหรือกลุ่ม หรือ องค์กร มีสุขภาพจิตที่ดี และมีความสุขในมิติต่างๆ รวมทั้งสามารถสร้างสมดุลชีวิตได้
ข้อมูลสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย
Thai Mental Health Indicators (TMHI – 66)
ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย
Thai Happiness Indicators (THI – 15)